|
VIEW : 2,300
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูลบรรพชาเป็นสามเณร ในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๑๓ และเข้าสอบพระปริยัติธรรมได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค ขณะอายุได้ ๑๔ ปี ถึงปีชวด พ.ศ. ๒๔๑๙ ได้เข้าสอบอีก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ได้เพิ่มอีก ๑ ประโยคเป็นเปรียญธรรม ๔ ประโยค
ต่อมาได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ในปีขาล พ.ศ. ๒๔๒๑ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยมี หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ ขณะยังเป็นหม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันธน์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และในปีมะเมีย พ.ศ. ๒๔๒๕ ได้เข้าสอบอีกเป็นครั้งสุดท้ายที่พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ได้เพิ่ม ๑ ประโยค รวมเป็นเปรียญธรรม ๕ ประโยค
เมื่อทรงประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ได้ทรงโปรดฯ ให้ท่าน (ขณะยังเป็นพระธรรมไตรโลกาจารย์) เป็นเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ และพระราชทานสัญญาบัตรเจ้าคณะมณฑลแก่ท่าน ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ศกนั้น ต่อมาท่านเกิดขัดแย้งกับสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ถึงกับแสดงกิริยาและวาจามิบังควรเฉพาะพระพักตร์สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบ จึงทรงพระดำริจะถอดท่านจากสมณศักดิ์ แต่สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ขอพระราชทานโทษไว้ จึงมีพระบรมราชโองการให้ท่านกราบทูลขอขมาโทษต่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ในท่ามกลางเถรสมาคม ให้ลดนิตยภัตลงมาเท่าพระราชาคณะชั้นสามัญตลอดปี และให้ถอดเสียจากตำแหน่งผู้บัญชาการคณะมณฑลนครสวรรค์
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) ท่านยังมีความสามามารถยอดเยี่ยมในทางเทศน์มหาชาติชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ท่วงทำนองในการเทศน์ของท่านเป็นที่นิยมยกย่องในยุคนั้นเป็นอย่างมาก สมัยนั้นตามวังเจ้านาย เช่น วังบางขุนพรหมซึ่งสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิตเสด็จประทับอยู่ พระองค์ทรงโปรดให้จัดมีพระธรรมเทศนาเวสสันดรชาดกทั้ง ๑๓ กัณฑ์ พร้อมทั้งอาราธนาพระสงฆ์ซึ่งเป็นองค์พระธรรมกถึกในการเทศนาเข้าไปแสดงถวายเป็นประจำทุก ๆ ปี โดยก่อนที่พระสงฆ์รูปที่จะไปแสดงพระธรรมเทศนาถวายจำจะต้องทำการฝึกซ้อมท่วงทำนองต่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ เสมอไป
ผลงานอีกชิ้นหนึ่งของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว. เจริญ อิศรางกูร) คือ ท่านเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษามคธ (บาลี) เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะคำโคลง ๔ สุภาพ ในความภาษาไทยท่านมักจะใช้ศัพท์มคธเข้าแทรก ดั่งจะเห็นผลงานอมตะของท่านที่ได้เขียนคำโคลงรามเกียรติ์ซึ่งจารึกไว้ตามเสาระเบียงพระวิหารคต ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีปรากฏนามของท่านมาจนถึงปัจจุบันนี้
พ.ศ. ๒๔๑๓ สอบได้ เปรียญธรรม ๓ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๑๙ สอบได้ เปรียญธรรม ๔ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๒๕ สอบได้ เปรียญธรรม ๕ ประโยค |
พ.ศ. ๒๔๓๐ | เป็น เจ้าอาวาสวัดโมลีโลกยาราม |
พ.ศ. ๒๔๓๗ - ๒๔๗๐ | เป็น เจ้าอาวาสวัดระฆังโฆสิตาราม |
พ.ศ. ๒๔๔๕ - ๒๔๕๗ | เป็น เจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์ |
เจ้าคณะเหนือ (เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ) |
พ.ศ. ๒๔๓๐ เป็น
พระราชาคณะชั้นสามัญ
ที่ พระราชานุพัทธมุนี
|
๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็น
พระราชาคณะผู้ใหญ่
ที่ พระเทพเมธี ศีลวิบุลนายก ตรีปิฎกธาดา มหาคณฤศณ บวรสังฆารามคามวาสี
|
๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็น
พระราชาคณะตำแหน่งเจ้าคณะฝ่ายใต้
ที่ พระธรรมไตรโลกาจารย์ ญาณปรีชาปรินายก ตรีปิฎกธรามหาคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี
|
๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็น
พระราชาคณะเจ้าคณะรองฝ่ายเหนือ
มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระพิมลธรรม มหันตคุณ วิบุลยปรีชาญาณ ตรีปิฎกคุณาลังการวิภูษิต อุดรทิศคณิศร บวรสังฆารามคามวาสี สังฆนายก
|
๒๔ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็น
สมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะหนเหนือ
ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณอดุลยสุนทรนายก ตรีปิฎกวิทยาคุณ วิบุลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดรคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี มหาสังฆนายก
|
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook