|
VIEW : 1,283
เพิ่ม/แก้ไขข้อมูล ๑. พระสมุห์แช่ม ธมฺมโชติ
๒. นายพัฒน์ พรหมหิตาทร
๓. นายเกิด พรหมหิตาทร
๔. นายยก พรหมหิตาทร
๕. นายกรด พรหมหิตาทร
เมื่ออายุพอสมควรแก่การเข้าเรียนศึกษาอักขระสมัย ท่านได้ถวายตัวเป็นศิษย์ของพระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมโล) วัดโพธาราม ซึ่งเป็นญาติของท่าน และได้เข้าศึกษาในโรงเรียนวัดโพธาราม (โพธิพิทยากร) จนจบชั้นประโยคมูลในสมัยนั้น (ป.๔)
บรรพชา เมื่ออายุได้ ๑๖ ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ ได้บรรพชาเป็นสามเณรศึกษาพระธรรมวินัยและอ่านเขียนอักขระหนังสือขอม ณ วัดโพธาราม กับ พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมโล) ต่อมาอายุได้ ๑๙ ปี จึงได้ลาสิกขาออกมาช่วยกิจการงานบ้านของครอบครัวคืออาชีพทำนา
อุปสมบท เมื่ออายุได้ ๒๓ ปี ในวันที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๓ ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๘/๘ ปีวอก ณ วัดมหาถูปาราม (พระใหญ่) โดยมี พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมโล) วัดโพธาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระสมุห์สุทธิ์ ติสฺโส วัดมัชฌิมาราม (วัดกลางหรือวัดหนองหวาย) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการทิ้ง วัดมหาถูปาราม (พระใหญ่) เป็นพระอนุสาวนาจารย์
เมื่ออุปสมบทเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ได้ติดตามพระครูโสภณฯ (คง วิมโล) ไปจำพรรษา ณ วัดโพธาราม พุมเรียง ไชยา พระแช่มได้ช่วยเหลืองานของพระครูโสภณฯ (คง) อย่างเต็มกำลังมาโดยตลอดทั้งฝ่ายปกครองและฝ่ายธุรการ จนได้รับฐานานุกรมที่ “พระใบฎีกา” เป็น พระใบฎีกาแช่ม ธมฺมโชติ ในฐานานุกรมของท่านพระครูโสภณฯ (คง) นอกจากนี้ยังช่วยเหลืองานการคณะสงฆ์ของ พระชยาภิวัฒน์สุภัทรสังฆปาโมกข์ (หนู ติสฺโส) เจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานีรูปแรก วัดสมุหนิมิต ท่านได้ช่วยเหลืองานจนกระทั่งท่านเจ้าคุณชยาภิวัฒน์ฯ (หนู) ถึงแก่มรณภาพ ท่านจึงได้หยุดงานนี้
ท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีความไฝ่รู้ ได้พยายามศึกษาทางธรรมจนกระทั่งเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ทั้งปริยัติธรรมและบาลี ท่านได้ยึดปฏิบัติตามพระอาจารย์ของท่าน คือ พระครูโสภณฯ (คง) จนทำให้ท่านมีความเคร่งครัดในธรรมวินัย ปฏิบัติตนอย่างเหมาะสมในเพศสมณะ กล่าวได้ว่า ถอดแบบมาจากพระครูโสภณฯ (คง) อย่างไม่มีผิด ท่านได้สอบนักธรรมจนจบนักธรรมชั้นเอก และเป็นครูสอนพระนักธรรมในสำนักเรียนวัดโพธารามอีกด้วย (ท่านเคยได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธาราม เจ้าคณะตำบลพุมเรียง และเจ้าอาวาสวัดพุมเรียงอยู่ช่วงระยะหนึ่ง)
เนื่องจากวัดมหาถูปาราม (วัดพระใหญ่) ได้เกิดว่างเว้นเจ้าอาวาส ชาวบ้านก็ได้มานิมนต์ท่านจากวัดโพธาราม ให้ไปเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาถูปาราม เพราะเป็นสถานที่บ้านเกิดเดิมของพ่อท่านแช่ม ท่านจึงรับนิมนต์เดินทางมาเป็นเจ้าอาวาสวัดมหาถูปาราม เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๘๙ และได้รับการแต่งตั้งเป็น “พระสมุห์” เป็นพระสมุห์แช่ม ธมฺมโชติ ในฐานานุกรมของ พระครูประสงค์สารการ (เทศน์ ธมฺมสํวโร) เจ้าคณะอำเภอท่าชนะ วัดวิชิตดิถาราม (คอกช้าง) และได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลประสงค์ด้วย ท่านได้ดำรงตำแหน่ง ๒ ตำแหน่งนี้จวบจนมรณภาพ อีกประการ พ่อท่านแช่มนอกจากท่านเป็นเลิศด้านพระธรรมแล้ว ท่านยังเก่งแบบคมในฝักเรื่องวิชาอาคมต่างๆ รวมทั้งวิชาสมุนไพรแพทย์แผนโบราณ ที่ท่านได้ช่วยสงเคราะห์ญาติโยมที่มาพึ่งใบบุญจากท่าน ซึ่งท่านได้เรียนจากตำราของพระสมุห์สุทธิ์ ติสฺโส วัดมัชฌิมาราม (หลวงพ่อสุทธิ์ วัดหนองหวาย) ซึ่งเป็นพระอาจารย์อีกท่านของพ่อท่านแช่ม สมัยก่อนได้เดินทางไปหาหลวงพ่อสุทธิ์อยู่บ่อยครั้ง และเมื่อคราวงานศพหลวงพ่อสุทธิ์ ที่มรณภาพเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๐ หลวงพ่อแช่มก็ได้เป็นแม่งาน ช่วยเหลืองานอย่างเต็มที่เต็มกำลัง
๑. เป็นผู้มักน้อยสันโดษ ท่านไม่สะสมทรัพย์และไม่สะสมสิ่งใด
๒. ท่าปราถนาจะให้โลกนี้อยู่ด้วยกันอย่างสงบสุข เห็นได้จากการที่ท่านฉันมังสวิรัติมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๐
๓. เป็นพระนักพัฒนา ทั้งถาวรสถานในวัด และถนนในชุมชน และอบรมสั่งสอนเทศนา ทุกวันพระ ไม่ได้ขาด
๔. ผู้เคร่งครัดพระธรรมวินัยเป็นอย่างยิ่ง ไม่บกพร่องเลย สวดมนต์ ทำวัตร เช้า-เย็น มิได้ขาด และถือเอกาสนิกังธุดงค์ คือ ฉันมื้อเดียวตลอดวัน
๕. เป็นผู้ใีความเมตตาและกตัญญูต่อผู้อื่น โดยเฉพาะกับครูบาอาจารย์ที่ท่านเคารพบูชา และสงเคราะห์ญาติโยมตลอดมา
๖. เป็นผู้มีสัจจะ พูดในสิ่งที่ทำ ทำในสิ่งที่พูด ไม่พูดมาก
๗. เป็นพระนักศึกษาและปฏิบัติโดยไม่ว่างเว้นในทุกอิริยาบถแม่กระทั่งเจ็บป่วยอาพาธ
๘. ไม่ต้องการชื่อเสียงเกียรติยศ หรือ สมณศักดิ์ใดๆ แต่ที่ท่านดำรงนั้นเป็นเพราะเพื่อได้ช่วยงานครูบาอาจารย์ท่าน
พ.ศ. ๒๔๘๙ | เป็น เจ้าอาวาสวัดมหาถูปาราม |
เจ้าคณะตำบลประสงค์ |
พ่อท่านแช่ม ท่านได้บำเพ็ญสมณะธรรมมาโดยตลอด บั้นปลายชีวิตท่านมีโรตเข้ามาครอบงำ ทำให้เกิดการเจ็บป่วยกระเสาะกระแสะตลอดมา จนถึงวันที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ เวลา ๒๐.๐๒ น. ตรงกับวันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๑ (อ้าย) ปีมะเส็ง (วันพระ ๘ ค่ำ) ท่านก็ได้ละสังขารอย่างสงบ ท่ามกลางพุทธบริษัทที่มาเฝ้านับร้อยคน ยังความโศกเศร้าเสียใจแก่บรรดาศิษยานุศิษย์และผู้ที่เคารพนับถือ สิริอายุ ๘๐ ปี พรรษา ๕๗
การจัดการกับสรีระของท่าน ท่านได้ทำบันทึกไว้ว่า ห้ามเก็บศพท่านไว้บำเพ็ญกุศลเด็ดขาด ห้ามฌาปนกิจ แต่ให้ฝังท่านลงในดินทันทีโดยอย่าข้ามคืนแบบธรรมเนียมของแขก ซึ่งก็ได้ปฏิบัติตามที่ท่านได้สั่งไว้ทุกประการ สถานที่ที่ฝังสรีระร่างของท่านอยู่ทางทิศใต้ของอุโบสถ มีบัวสถูปเป็นเครื่องหมายที่ระลึกตรงที่จุดฝังร่างของท่าน มีประชนผู้คนไปกราบไหว้กันมิได้ขาดสาย
เป็น
พระใบฎีกา
ฐานานุกรมใน พระครูโสภณเจตสิการาม (คง วิมโล)
|
เป็น
พระสมุห์
ฐานานุกรมใน พระครูประสงค์สารการ (เทศน์ ธมฺมสํวโร) เจ้าคณะอำเภอท่าชนะ วัดวิชิตดิถาราม (คอกช้าง)
|
หนังสือที่ระลึกทำบุญมรณภาพครบ ๑๐๐ วัน พระสมุห์แช่ม ธมฺมโชติ วันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๑. |
จักรกฤษณ์ แขกฮู้ นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี : เรียบเรียง/เผยแพร่ |
แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com
www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่
พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook