สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ ป.ธ.๙) | พระสังฆาธิการ

สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (พิจิตร ฐิตวณฺโณ ป.ธ.๙ ,ดร.)


 
เกิด ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙
อายุ ๘๗ ปี
อุปสมบท ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๙
พรรษา ๖๗
วัด วัดโสมนัส ราชวรวิหาร
ท้องที่ กรุงเทพมหานคร
สังกัด ธรรมยุติกนิกาย
วุฒิการศึกษา น.ธ.เอก, ป.ธ.๙, ศน.บ., ค.ด.(กิตติ์), ศน.ด.(กิตติ์)


VIEW : 9,192

เพิ่ม/แก้ไขข้อมูล

ชาติภูมิ


     สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ นามเดิมว่า พิจิตร ถาวรสุวรรณเป็นบุตรคนโต ในจำนวนบุตร ๙ คน ของนายแก้ว และนางโผ้เลี่ยน ถาวรสุวรรณ เกิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ที่หมู่บ้านพังขาม อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา เมื่ออายุได้ ๕ - ๗ ขวบ บิดามารดาได้ย้ายไปทำงานที่อื่น จึงได้อยู่ในความอุปการะของยายคือนางชุม แจ่มใส เมื่ออายุย่างเข้า ๘ ขวบได้ย้ายตามบิดามารดา ไปอยู่ที่บ้านดอนคัน เพื่อเข้าเรียนในชั้นประถมศึกษา ที่ โรงเรียนลือสิทธิ์วิทยา วัดธรรมประดิษฐ์ จนจบการศึกษาและได้ช่วยบิดามารดาทำงานอยู่ที่บ้าน


บรรพชาอุปสมบท

     เมื่ออายุได้ ๑๕ ปี จึงขออนุญาตบรรพชา แต่มารดาบิดาไม่อนุญาต จึงขอผลัดไว้อีก ๓ ปี ในระหว่างที่รอ ๓ ปี ก็ได้ช่วยบิดามารดาทำงานอย่างขยันขันแข็ง และเตรียมตัวในการบรรพชาอย่างจริงจัง เมื่อมีเวลาว่างก็ไปอยู่ที่วัดธรรมประดิษฐ์เพื่อเป็นการฝึกข้อวัตรปฏิบัติ จนปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ขณะอายุได้ ๑๗ ปี ก็ได้รับอนุญาตให้บรรพชาได้ โดยพระอุดมศีลคุณ (เริ่ม นนฺทิโย) วัดบุรณศิริมาตยาราม ผู้เป็นหลวงอา ในสมัยที่เป็นพระครูปลัดเถรธรรมวัฒน์ ได้นำไปฝากให้บวชที่วัดโสมนัสวิหาร โดยถวายตัวเป็นศิษย์ของพระวินัยวงศ์เวที (พวง ธมฺมธโร) ได้บรรพชาเป็นสามเณรเมื่อวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๖ โดยสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม)ขณะยังเป็นพระอมรมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระวินัยวงศ์เวที (พวง ธมฺมธโร) เป็นพระศีลาจารย์ และได้ตั้งใจศึกษาเล่าเรียนจนสอบได้เปรียญธรรม ๓ ประโยค และนักธรรมชั้นเอกตั้งแต่เป็นสามเณร

     เมื่ออายุได้ ๒๐ ปีบริบูรณ์ จึงได้อุปสมบท ณ วัดโสมนัสวิหาร เมื่อวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๙๙ โดยมีสมเด็จพระวันรัต (จับ ฐิตธมฺโม) ในสมัยที่ยังเป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่พระอมรมุนี เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระราชกวี (อ่ำ ธมฺมทตฺโต) เป็นพระกรรมวาจาจารย์


การศึกษา

พ.ศ. ๒๔๙๙ สอบได้ นักธรรมชั้นเอก
พ.ศ. ๒๔๙๙ สอบได้ เปรียญธรรม ๓ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๐๐ สอบได้ เปรียญธรรม ๔ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๐๑ สอบได้ เปรียญธรรม ๕ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๐๓ สอบได้ เปรียญธรรม ๖ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๐๕ สอบได้ เปรียญธรรม ๗ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๐๙ สอบได้ เปรียญธรรม ๘ ประโยค
พ.ศ. ๒๕๐๙ สำเร็จ ปริญญาศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) เกียรตินิยมอันดับ ๒ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๑๔ จบ อนุปริญญาทางภาษาฮินดี (Dip. in Hindi) จาก มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๑๔ จบ ปริญญาโท (M.A.) ทางวรรณคดีสันสกฤต จาก มหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย
พ.ศ. ๒๕๑๗ สอบได้ เปรียญธรรม ๙ ประโยค


เกียรติคุณ


ได้รับถวายปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ได้รับถวายปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
----
พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้รับประกาศนียบัตรชั้นสูง จากสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ

ตำแหน่ง

ฝ่ายปกครอง

พ.ศ. ๒๕๑๘ - ๒๕๓๙  เป็น ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๒๙ - ๒๕๔๐  เป็น รองเจ้าคณะภาค ๑๖ - ๑๗ - ๑๘ (ธ)
พ.ศ. ๒๕๓๙  เป็น เจ้าอาวาสวัดโสมนัสราชวรวิหาร
พ.ศ. ๒๕๔๐ - ๒๕๕๙  เป็น เจ้าคณะภาค ๑๖ - ๑๗ - ๑๘ (ธ)
พ.ศ. ๒๕๕๙  เป็น ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๖ - ๑๗ - ๑๘ (ธ) [1]
พ.ศ. ๒๕๖๒  เป็น ที่ปรึกษามหาเถรสมาคม [2]

ฝ่ายการศึกษา

อาจารย์บรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาใน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยทั้งระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท

สมณศักดิ์


พ.ศ. ๒๕๑๗ เป็น เปรียญธรรม ๙ ประโยค
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญเปรียญ ที่ พระศรีวิสุทธิกวี [3]
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ เป็น พระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชวิสุทธิกวี ตรีปิฎกธรธรรมานุสิฏฐ์ ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [4]
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพวิสุทธิกวี ศรีปริยัติดิลก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [5]
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวิสุทธิกวี ศรีพุทธศาสน์โกศล โสภณธรรมวรนายก ตรีปิฎกบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [6]
๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็น พระราชาคณะเจ้าคณะรอง มีราชทินนามตามที่จารึกในหิรัญบัฏว่า พระสาสนโสภณ วิมลญาณอดุล สุนทรศาสนดิลก สาธกธรรมวิจิตร ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี [7]
๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ เป็น สมเด็จพระราชาคณะ ที่ สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ พิพัฒนพงศพิสุต พุทธสิริพจนพิจิตร ฐิตธรรมนิวิฐวิปัสสนานุศาสก สาสนดิลกโสภณจารี ตรีปิฎกบัณฑิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี [8]

ที่มา


1. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง แต่งตั้ง พระสาสนโสภณ ให้เป็นที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค ๑๖ - ๑๗ - ๑๘ (ธรรมยุต)
2. มติมหาเถรสมาคม เรื่อง แต่งตั้งที่ปรึกษามหาเถรสมาคม
3. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๙๔, ตอนที่ ๓ ง, ๖ มกราคม ๒๕๒๐, หน้า ๖
4. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องพระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๐๕, ตอนที่ ๒๐๗ ง, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๑, หน้า ๔
5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๐, ตอนที่ ๒๐๒ ง, ๖ ธันวาคม ๒๕๓๖, หน้า ๒
6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานสัญญาบัตรตั้งสมณศักดิ์, เล่ม ๑๑๗, ตอนที่ ๒๘ ข, ๒๘ ธันวาคม ๒๕๔๓, หน้า ๒๒
7. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๒๗, ตอนที่ ๗ ข, ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
8. ราชกิจจานุเบกษา, พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาสมณศักดิ์, เล่ม ๑๓๖, ตอนที่ ๔๐ ข, ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒, หน้า ๔
wikipedia


แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com

www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่

พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook