พระครูพิพัฒน์ภาวนา (เส้ง ติสฺสโร) | พระสังฆาธิการ

พระครูพิพัฒน์ภาวนา (เส้ง ติสฺสโร)


 
เกิด ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๙
อายุ ๘๘ ปี
อุปสมบท ๑๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๓๙
พรรษา ๖๖
มรณภาพ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖
วัด วัดบ่อประดู่
ท้องที่ สงขลา
สังกัด มหานิกาย


VIEW : 570

เพิ่ม/แก้ไขข้อมูล

สถานะเดิม


     พระครูพิพัฒน์ภาวนา มีนามเดิมว่า เส้ง ดิสรพงศ์ เกิดเมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ตรงกับวันพุธ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือนอ้าย ปีฉลู เป็นบุตรของนายอ้ง - นางกิ้ม ดิสรพงศ์ ภูมิลำเนาเดิม บ้านบ่อประดู่ ตำบลวัดจันทร์ อำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา


การศึกษา

     ได้รับการศึกษาในสมัยเด็กจากวัดตามสมัยนั้น มีความรู้ในการอ่านและเขียนทั้งอักษรไทยและขอม พอสมควรแก่วัยและสมัยนิยมเป็นอย่างดี


บรรพชาอุปสมบท

     ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดจันทร์ โดยมี พระทุ่ม รองเจ้าอาวาส ผู้เป็นอาจารย์ของท่าน เป็นพระอุปัชฌาย์

     ท่านได้ศึกษา และปฎิบัติกิจในภาวะของสามเณรอยู่ ๒ พรรษา จึงได้ลาสิกขาออกมาช่วยบิดามารดา ประกอบอาชีพตามพื้นเพเดิม คือ การทำนา อยู่ระยะหนึ่งแล้วย้ายไปอยู่กับนายวั่นเส้ง นางพิมพ์ฯ ญาติผู้ใหญ่ที่สนิทและรักใคร่ท่านมาก ที่บ่านท่าหิน ตำบลท่าหิน อำเภอสทิงพระ

     อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑๕ กรกฎาคม พศ.๒๔๓๙ (อายุ ๒๒ ปี) ณ วัดท่าหิน โดยมี พระครูวิจารณ์ศีลาคุณ (ชู) วัดดอนคัน เจ้าคณะแขวงจะทิ้งพระ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการยิ้ม วัดท่าหิน เป็นอนุสาวนาจารย์ พระพริก วัดดอนคัน เป็นพระอนุสาวนาจารย์


ด้านการศึกษาหลังอุปสมบท

     จำพรรษาอยู่ที่วัดท่าหิน ๒ พรรษา ได้เรียนสวดมนต์แบละพระปาฏิโมกข์ จำได้คล่องแคล่วแล้ว จึงย้ายไปอยู่ในสำนักวัดดอนแย้ ศึกษาบาลีไวยากรณ์ (มูลกัจจายน์) อย่างสมัยเก่าอีก ๑๑ พรรษา แต่ตามหัวเมืองครูอาจารย์สอนไม่ได้ ท่านจึงเดินทางไปศึกษาต่อที่กรุงเทพมหานคร สำนักวัดสุทัศน์เทพวราราม อีก ๘ พรรษา (พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๘) จึงสมารถแปลธรรมบทได้ชำนาญ เรียนมงคลทีปนีจนแตกฉานในพระธรรมวินัย สามารถเทศนาปฎิภาณโวหารได้ดียิ่งรูปหนึ่ง แต่ท่านไม่ด้สมัครเข้าสอบไล่สนามหลวง (ซึ่งสมัยนั้นใช้แปลปากเปล่ากัน) เพราะเห็นว่าถ้าสอบได้เป็นมหาเปรียญแล้ว มักต้องอยู่ช่วยการพระศาสนาประจำกรุงเทพฯ ซึ่งท่านมีได้ตั้งใจแน่วแนวที่จะกลับไปพัฒนาบ้านเกิดเมืองนอน


ด้านการงาน

     ในปี พ.ศ. ๒๔๕๘ ได้เดินทางกลับมาประจำอยู่วัดบ่อประดู่ ท่านก็ได้ริเริ่มปรับปรุงก่อสร้างวัด ซึ่งอยู่ในสภาพเกือบจะร้างแล้วนั้น ให้กลับดีขึ้นเริ่มด้วยการสร้างเสนาสนะที่อยู่อาศัยของภิกษุสามเณรชนิดถาวร เล็กบ้างใหญ่บ้างตามความจำเป็นและกำลังศรัทธาของชาวบ้าน เมื่อมีที่อยู่อาศัยแล้ว ท่านจึงได้สถานที่และจัดตัวดรงเรียนขึ้นเพื่อให้ลูกหลานได้ศึกษาเล่าเรียนดดยท่านเองเป็นครูสอนเองบ้าง พอรัฐบาลออกกฎหมายประถมศึกษา และขยายการบังคับออกต่างจังหวัด ถึงตำบลวัดจันทร์แล้ว ท่านก็มอบโรงเรียนและกิจการการสอนของท่าน ให้แก่ทางราชการทำต่อไป

     ส่วนท่านเองหันไปอบรมสั่งสอนพระธรรมวินัยพระภิกษุสามเณร แล้วจัดสร้างศาลาการเปรียญและสอนปริยัติธรรมสนามหลวงแผนกนักธรรมขึ้นในวัด

     เมื่อเห็นชาวบ้านมีกำลัง ท่านจึงได้สร้างอุโบสถให้เป็นหลักของวัดของศาสนา เพื่อสมณกิจโดยเฉพราะขึ้นใหม่อย่างดีและสวยงามทันสมัย

ตำแหน่ง

ฝ่ายปกครอง

พ.ศ. ๒๔๖๐  เป็น เจ้าอาวาสวัดบ่อประดู่
พ.ศ. ๒๔๗๐  เป็น พระอุปัชฌาย์
พ.ศ. ๒๔๗๐  เป็น เจ้าคณะหมวดเสื้อเมือง (เจ้าคณะตำบลเสื้อเมือง)
พ.ศ. ๒๔๗๔  เป็น เจ้าคณะหมวดวัดจันทร์ (เจ้าคณะตำบลวัดจันทร์)

ฝ่ายการศึกษา

พ.ศ. ๒๔๗๔  เป็น กรรมการศึกษาประจำอำเภอเมืองสงขลา

ปฎิปทาในการดำรงตน


     ๑. เป็นผู้ใคร่ต่อการศึกษาโดยตลอด และแนะนำให้คนอื่นใคร่ต่อการศึกษา ท่านแนะนำว่าชั้นปุถุชนควรใคร่ต่อการศึกษาเท่านั้น จะนำความเจริญให้นานัปการ

     ๒. เป็นผู้รู้จักประมาณตน เป็นผู้หนักแน่นในปฎิสันธาน ผู้ใดไปมาหาสู่ได้รับการต้อนรับเป็นอันดี เป็นทิ่ยินดีแก่ผู้ไปมาหาสู่ยิ่งนัก

     ๓. เป็นผู้ยินดีในการทำประโยชน์ ส่วนร่วมไม่ท้อถอย ทั้งประโยชน์ทางศาสนาและบ้านเมือง ๔.เป็นู้ดำรงอยู่ในพรหมวินัยโดยเคร่งครัด ตั้งใจ แนพนำสั่งสอนศิษยานุศิษย์ และทางบริษัทให้เข้าใจหลักธรรมและการครองชีพ โดยสมควรแก่ฐานะ

     ๕. ได้ขวนขวายเพื่อความเจริญของกุลบุตรทั้งทางโลกและทางธรรม อาทิเช่น ได้แนะนำและจัดภิกษุสามเณร ที่มีสติปัยญาดี สามารถเรียนปริยัติธรรมทั้งนักธรรมและบาลี ได้ศึกษาต่อในอำเภอเมืองและที่อื่นๆ หลายรูป นำมาซึ่งชื่อเสียงและเป็นกำลังหลักของการเผยแพร่พระพุทธศาสนา อาทิเช่น พระศรีปริยัตโยดม (จันทร์ เขมจารี ป.ธ.๙) อดีตเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และนอกจากนั้นยังฆราวาสอีกมากม้ายที่สำเร็จและรับราชการที่สำคัญในบ้านเมือง


ลูกศิษย์ที่สำคัญ


     พระครูพิพัฒน์ภาวนา นั้นเป็นผู้ที่วิสัยทัศน์ทางการศึกษา ทำให้มีลูกศิษย์ จำนวนมาก ที่ทำคุณประโยชน์ให้แก่ประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นเพศบรรพชิตหรือฆราวาส อาทิเช่น พระศรีปริยัตโยดม (จันทร์ เขมจารี ป.ธ.๙) อดีตเจ้าอาวาสวัดพัฒนาราม จังหวัดสุราษฎร์ธานี / พระครูอัมภวันคณารักษ์ เจ้าคณะตำบลมะม่วงงาม / นายชวน จุลมณีโชติ ศึกษาธิการจังหวัดสงขลา นายทิพย์ เทพรัตน์ ครูใหญ่โรงเรียนวัดบ่อประดู่

มรณกาล


     พระครูพิพัฒน์ภาวนา (เส้ง ติสฺสโร) มรณภาพ ด้วยโรคชรา ณ วัดบ่อประดู่ เมื่อวันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เวลา ๐๗.๔๕ น. สิริอายุ ๘๘ ปี พรรษา ๖๖

สมณศักดิ์


๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๗ เป็น พระครูสัญญาบัตร ที่ พระครูพิพัฒน์ภาวนา

ที่มา


หนังสือพุทธบริษัทกับทรัพย์สมบัติ ของท่านพุทธทาส ภิกขุ พิมพ์ เป็นที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพพระครูพิพัฒน์ภาวนา (เส้ง ติสฺสโร) อดีตเจ้าอาวาสวัดบ่อประดู่/อดีตเจ้าคณะหมวดวัดจันทร์ วันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๗.

ผู้แนะนำข้อมูล


เกรียงศักดิ์ เมฆสุข : ค้นคว้า/ เรียบเรียง
เมธาสิทธิ์ เพชรจำรัส : ค้นคว้า/ เรียบเรียง


แจ้งเพิ่มข้อมูล info@sangkhatikan.com

www.sangkhatikan.com สร้างขึ้นเพื่อให้ผู้ที่สนใจ ศึกษาข้อมูล และเป็นที่รวบรวมข้อมูลพระสังฆาธิการทั่วประเทศ
ทางผู้จัดทำขออนุญาติ เจ้าของรูปและข้อมูลทุกท่าน ที่นำมาเผยแพร่

พระสังฆาธิการ : sangkhatikan.com
สำนักงานweb : วัดสำโรงเหนือ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ๑๐๑๓๐
E-mail : info@sangkhatikan.com
Facebook